CAREER ADVICE & RESOURCES

from one of the top Recruitment Agency & Outsourcing Company in Thailand & Indonesia

7 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งาน

7 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งาน

ในการสัมภาษณ์งาน หน้าที่ของคุณคือการโน้มน้าวให้คนสัมภาษณ์เชื่อว่าคุณมีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ที่ตรงกับงานที่จะสัมภาษณ์ แสดงออกถึงความกระตือรือร้นและทำให้คนสัมภาษณ์เชื่อว่าคุณเหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร และ เหมาะกับรายละเอียดงานนั้นๆ ทางบริษัท recruitment | บริษัทจัดหางาน | บริษัทจัดหาพนักงาน ของเรามีคำแนะนำดังต่อไปนี้

 

 

1. ค้นคว้าข้อมูลขององค์กร

 

ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถตอบคำถามต่างๆได้ และจะทำให้คุณโดดเด่นกว่า ผู้สัมภาษณ์ท่านอื่นที่ไม่ได้เตรียมตัวอะไรมาเลย

 

หาข้อมูลเบื้องหลัง

     - เข้าไปดูเวปไซต์หางานเช่น Jobsdb, Jobthai เพื่อที่จะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นขององค์กร และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งนั้น

     - เข้าไปดูเวปไซต์ขององค์กรเพื่อให้คุณเข้าใจคร่าวๆว่าองค์กรนั้นทำธุรกิจอะไร

     - ดูข้อมูลความเป็นมาขององค์กรและพันธกิจ (Mission Statement)

     - ศึกษาสินค้าและบริการ และฐานลูกค้า

     - อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด เพื่อที่จะเข้าใจในความมั่นคง และการเจริญเติบโตที่คาดการณ์ไว้

 

โดยปกติถ้าคุณไปสัมภาษณ์กับทางบริษัท recruitment / บ.จัดหางาน ทาง recruitment consultant จะให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัทและรายละเอียดงาน และบริษัทจัดหางานที่ไหนดี ก็จะแนะนำให้คุณไปหาข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ได้เขียนไว้ด้านบน

 

หามุมมอง ศึกษาสินค้าจากสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อหามุมมอง และเข้าใจถึงสถานะขององค์กรในอุตหาหกรรมนั้นๆ

 

ตั้งคำถาม เตรียมที่จะถามเกี่ยวกับองค์กรหรือเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่จะสัมภาษณ์ บนพื้นฐานการค้นคว้าข้อมูลของคุณ

 

 

2. เปรียบเทียบทักษะและคุณสมบัติของคุณ กับ ความต้องการของตำแหน่งงาน

 

    - วิเคราะห์รายละเอียดงาน (Job Description) ร่างความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็น

    - ตรวจสอบโครงสร้างขององค์กร (Organization Chart) ดูว่าตำแหน่งที่เราสัมภาษณ์อยู่ในส่วนใดในองค์กร

    - เปรียบเทียบที่ละข้อ ดูว่าองค์กรกำลังมองหาคุณสมบัติอะไรในตัวคุณ

 

 

3. เตรียมคำตอบ

 

การสัมภาษณ์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับประวัติการทำงาน พฤติกรรม และ เคสที่สมมุติให้ บริษัท recruitment | บริษัทจัดหาพนักงาน | บ.จัดหางาน ฟิชเชอร์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส ขอแนะนำให้คุณฝึกซ้อมวิธีบอกเล่าเรื่องราวประวัติการทำงานของคุณ และตอบคำถามอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อฟังแล้วเข้าใจง่ายที่สุด

 

ลองเข้าไปดูคำถามยอดฮิต 50 คำถามได้ทางนี้

How to answer: "Tell me about yourself"

How to answer: "What is your greatest strength?"
How to answer: "What is your greatest weakness?"

How to answer: "Why should I hire you?"

How to answer: "How did you handle a difficult situation?"

 

 

4. วางแผนว่าจะแต่งตัวไปสัมภาษณ์อย่างไร

 

    - เป็นกลาง แต่งกายแบบเป็นทางการ เช่น ใส่ชุดสูทสีเข้ม รองเท้าหนัง จะดีที่สุด

    - Business Casual ถ้าได้รับคำสั่งให้แต่งตัว “Business Casual” ให้ใช้วิจารณญาณที่ดี

    - เสียบปลั้กเตารีด ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่เรียบ ไม่มีรอยยับ

    - แต่งตัวเพื่อสร้างความประทับใจ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารูปลักษณ์โดยรวมของคุณสะอาด เรียบร้อย และดูดี

 

 ลองเข้าไปอ่านหัวข้อเรื่อง แต่งตัวเพื่อสร้างความประทับใจ - แต่งตัวอย่างไรสำหรับการสัมภาษณ์งาน ได้ทางนี้

 

 

5. วางแผนว่าจะเตรียมอะไรไปด้วย

 

    - สำเนาประวัติการทำงานและสำเนาผลการศึกษาของคุณ บนกระดาษที่มีคุณภาพ ภาษาที่ใช้ในประวัติการทำงานควรเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น (บริการเขียน Resume)

    - สมุดโน้ต แฟ้ม ปากกา และรายชื่อบุคคลอ้างอิง

    - ข้อมูลที่คุณอาจจะต้องกรอกในใบสมัคร

    - แฟ้มผลงาน ตัวอย่างงานที่เกี่ยวข้อง และรางวัลที่เคยได้รับ

 

 

6.  ให้ความสำคัญกับภาษากาย 

 

    - มีสติ ภาษากายมีส่วนสำคัญต่อการแสดงถึงลักษณะ นิสัยใจคอของคุณ

    - พร้อมตั้งแต่ก้าวเข้าสำนักงาน โปรดจำไว้ว่าอาจมีคนคอยสังเกตพฤติกรรมอยู่เราอยู่ตั้งแต่ตอนนั่งรอ หรือกรอกใบสมัคร

    - มั่นใจในตัวเอง ยิ้ม ไม่หลบสายตา ไหว้หรือรับไหว้ตามความเหมาะสม

    - ท่าทาง นั่งตัวตรงๆ แต่สบาย ควรระวังพฤติกรรมเวลาตื่นเต้น เช่น การสั่นเท้า การหลบสายตา เป็นต้น

    - ใส่ใจ อย่าจ้อง แต่ควรสบสายตาเป็นระยะๆ และคอยฟังและตอบคำถามของผู้สัมภาษณ์

    - เคารพในพื้นที่ ของผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรวางสิ่งใดบนโต๊ะของผู้สัมภาษณ์

    - จัดการปฏิกิริยา การแสดงออกทางสีหน้า จะบ่งบอกกับความรู้สึกของคุณ จัดการปฏิกิริยาของคุณเพื่อที่จะตอบสนองและสื่อให้เห็นภาพในเชิงบวกของเรา

 

ลองเข้าไปอ่าน 10 ภาษากายที่ควรหลีกเลี่ยงขณะสัมภาษณ์งาน

 

 

7. เตรียมคำถาม

 

ทุกๆการสัมภาษณ์งานจะจบลงที่คำถามเดิมๆเช่น “คุณมีคำถามอะไรมั้ย”

 

    - นำคำถามมาด้วย ถ้าคุณจำคำถามไม่ได้คุณอาจจะขออนุญาติผู้สัมภาษณ์ที่จะหยิบโน้ตคำถามขึ้นมา

    - วางกลยุทธ์ ถามคำถามเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ได้กล่าวถึง หรือชี้แจงหัวข้อที่ยังสงสัย อย่าถามคำถามที่สามารถหาข้อมูลได้จากเวปไซต์ขององค์กร

 

ตัวอย่างคำถาม

 

    - คุณคิดว่าอะไรที่ทำให้องค์กรนี้เป็นองค์กรที่น่าทำงาน?

    - คุณคิดว่าอะไรเป็นเกณฑ์ที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในตำแหน่งนี้?

    - ช่วยเล่าถึงวัฒนธรรมองค์กรของที่นี่ให้ฟังหน่อยได้มั้ย?

    - ในตำแหน่งนี้สามารถวัดความสามารถในการทำงานได้จากอะไรบ้าง?

    - จะมีโอกาสที่จะได้เติบโตในองค์กรนี้ได้อย่างไรบ้าง?

    - หลังจากสัมภาษณ์วันนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นอย่างไร?

 

ถามอะไรดีเมื่อ HR บอกว่า “มีคำถามอะไรมั้ยค่ะ?”

บทความอื่นๆเกี่ยวกับการสัมภาษณ์งานที่น่าสนใจ