CAREER ADVICE & RESOURCES

from one of the top Recruitment Agency & Outsourcing Company in Thailand & Indonesia

เปรียบเทียบช่องทางในการ Source Candidate-จัดอันดับ เทคนิคและช่องทางสรรหาบุคลากรที่ดีที่สุด

เปรียบเทียบช่องทางในการ Source Candidate-จัดอันดับ เทคนิคและช่องทางสรรหาบุคลากรที่ดีที่สุด

ทุกคนก็คงยอมรับว่า การสรรหาพนักงานที่ดีเป็นเรื่องที่ยาก ท้าทาย และราคาแพง ถึงแม้ปัจจุบันจะมีช่องทางในการสรรหาพนักงานให้เลือกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะ ละทิ้งวิธีสรรหาแบบเก่า โดยมาใช้ช่องทางออนไลน์แบบ web-based หรือ social media แท้จริงแล้ว วิธีแบบไหนที่ทำให้เห็นผลดีที่สุด? เราลองมาเปรียบเทียบในแต่ละช่องทาง ในด้าน

 

1. ความง่ายในการใช้

2. ประหยัดเวลา

3. ความคุ้มค้า / ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)

4. ประหยัดค่าใช้จ่าย

 


Job Board - Jobsdb

Job Board (C+)

 

ความง่ายในการใช้: ดี

ประหยัดเวลา: ดี

ความคุ้มค้า: ไม่ดี

ประหยัดค่าใช้จ่าย: ไม่ดี

 

การเขียนโฆษณา ประกาศสมัครงานและ Job Description ในแต่ละตำแหน่งอาจใช้เวลามาก ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม และยังมีราคาแพงอีกด้วย แต่เมื่อคุณมี Template ที่สามารถใช้งานได้จริง เพียงแค่การซักซ้อมเพียงเล็กน้อย การลงประกาศงานใน Job Board ก็จะเป็นเรื่องง่าย ข้อเสียของ Job Board ก็จะมีแค่ candidate ทั้งหลายก็จะเป็น candidate ที่ active และกำลังมองหางานใน Job Board ต่างๆอยู่ และคุณก็ต้องคอยเปิดดูใบสมัครที่เข้ามาเป็นจำนวนมากซึ่งคุณสมบัติของผู้สมัครนั้น อาจไม่ตรงและไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่กำลังมองหาเลย

 

การโฆษณาตำแหน่งงานใน Job Board ที่เป็นที่นิยมก็จะมี ค่าใช้จ่ายเยอะ อย่างเช่น ลงโฆษณาใน 1 ตำแหน่ง ก็ราคาประมาณ 3,000 บาทขึ้นไป ยกเว้นถ้าซื้อเป็น Package จำนวนมาก ซึ่งก็มีหลายองค์กรที่ทำกัน ก็จะได้ราคาต่อ 1 โฆษณาที่ลดลงและจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร

 


LinkedIn

LinkedIn (B+)

 

ความง่ายในการใช้: ดีมาก

ประหยัดเวลา: ดีมาก

ความคุ้มค่า: ปานกลาง/ไม่ดี

ประหยัดค่าใช้จ่าย: ปานกลาง

 

การใช้ LinkedIn และสื่อ social media อื่นๆ ได้กลายเป็นตัวเลือกสำรอง ในการสรรหาบุคลากร (Sourcing Candidate) LinkedIn เป็นวิธีที่ รอบคอบ ไม่กระโตกโอกอาก และใช้เวลาน้อยและง่ายกว่า (น่ากลัวน้อยกว่า) การโทรไปหา candidates (cold calling)  อย่างไรก็ตามการใช้ LinkedIn ก็เป็นการง่ายต่อการถูกเมินหรือไม่มีการตอบรับจาก candidate เพราะถ้า candidate ไม่ได้ตั้งใจหางานอยู่จริงๆ ก็อาจจะไม่ได้เข้ามาดูใน LinkedIn Account อยู่เป็นประจำ บางครั้งคุณอาจจะส่งข้อความไปเป็นร้อยๆ ข้อความ แต่กลับได้รับการตอบสนองแค่ไม่กี่ข้อความ จึงจำเป็นต้องพูดว่า ความคุ้มค่าหรือผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) อาจไม่ใช่อย่างที่หวัง การใช้ Premium Account (Recruiter Lite) ที่คุณสามารถ เข้าถึง database และติดต่อ candidate  ได้โดยตรง ก็จะเริ่มต้นที่ $99.95 / month หรือ 3,316 บาท ต่อเดือน

 


Headhunting

Headhunting (A-)

 

ความง่ายในการใช้: ดีมาก

ประหยัดเวลา: ปานกลาง/ไม่ดี

ความคุ้มค่า: ปานกลาง

ประหยัดค่าใช้จ่าย: ดีมาก

 

การ Headhunt เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากร มากว่าวิธีอื่นๆ มันเป็นวิธีที่เหนื่อย เครียด และต้องมีความอดทน แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากการ Headhunt ก็จะดีมาก จนวิธีอื่นๆเทียบไม่ติด candidate ที่คุณสรรหา (sourcing) มา ก็จะเป็น candidate ที่ไม่ได้รับการแตะต้องจากคู่แข่งของคุณเพราะว่าพวกเค้าไม่ได้ active มองหางานอยู่ candidate เหล่านี้เป็น candidate ที่ล้ำค่าและสิ่งเดียวที่คุณต้องการก็คือโทรศัพท์ที่จะสามารถโทรไปนำเสนอตำแหน่งเค้าได้

 


Referral

Referrals (A+)

 

ความง่ายในการใช้: ดีมาก

ประหยัดเวลา: ดีมาก

ความคุ้มค่า: ปานกลาง

ประหยัดค่าใช้จ่าย: ดีมาก

 

Referrals เป็นวิธีในการสรรหาพนักงานที่เปรียบเสมือนเพชรในตม เพราะเป็นวิธีที่ประหยัดแต่เป็นวิธีที่หลายๆบริษัทมองข้ามกันไป  candidate เหล่านี้เป็น candidate ที่ดีและไม่ได้กำลัง active มองหางานใน Job Board ต่างๆ ในขณะเดียวกัน candidate เหล่านี้ก็ถูกคัดเลือก (screening) โดยคนรู้จักหรือเพื่อนร่วมงานของเขาแล้วนั่นเอง

 

ข้อเสียมีอยู่แค่ candidate เหล่านี้บางทีอาจจะไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่คุณกำลังมองหาซะทีเดียว เพราะการที่คุณเคยจ้าง นาย/นส ก. ก็ไม่ได้หมายความว่าเพื่อนของเขาที่เคยเรียนหรือทำงานร่วมกันมา จะเหมาะสมกับตำแหน่งที่คุณกำลังจะสรรหาอยู่  ข้อดีของ Referrals ก็คือมันไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และยังเป็นรากฐานในการทำให้ พนักงาน มีส่วนร่วมกับองค์กรและจำทำให้เขาเหล่านั้นอยู่กับองค์กรไปนานๆ (Retention)