“Tell me about Yourself” หรือ “บอกฉันเกี่ยวกับตัวคุณเอง” เราจะตอบคำถามนี้กันอย่างไร?
คำถามนี้เป็นคำถามยอดนิยมและเป็นหนึ่งในคำถามที่ถูกถามบ่อยที่สุดในการสัมภาษณ์งาน แต่ผู้สมัครงานก็ไม่ค่อยเตรียมตัวหรือตั้งใจจะตอบคำถามนี้สักเท่าไร เพราะมัวแต่คิดว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ถามขึ้นเพื่อให้เราไม่เกร็ง หรือเป็นแค่ ice breaker เท่านั่นเอง ทั้งๆที่คำถามนี้เปิดโอกาสให้ผู้สมัครงานโฆษณาจุดแข็ง / จุดอ่อนและความสำเร็จของตัวเองได้เต็มที่
พวกเราควรพิจารณาคำตอบอย่างรอบคอบเนื่องจากคำถามนี้ เป็นมากกว่าคำถามเปิดการสัมภาษณ์ สำหรับผู้สัมภาษณ์หลายๆคน เมื่อผู้สัมภาษณ์ถามคำถามนี้ขึ้นมา พวกเขาก็หวังว่าผู้สมัครจะให้ข้อมูลเชิงลึกว่าทำไมพวกเขาคิดว่า เขาเหมาะสมสำหรับงานนี้ ผู้สัมภาษณ์ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการลำดับความสำคัญของผู้สมัครซึ่งจะทำให้พวกเขารู้จักว่าผู้สมัครดีขึ้นว่า จริงๆแล้วเขาเป็นคนอย่างไร
เท่านั้นยังไม่หมด ผู้สัมภาษณ์ยังใช้คำถามนี้เพื่อพิจารณาว่าผู้สมัครมีความสามารถในการสื่อสาร ชัดเจน และมั่นใจหรือไม่ ซึ่งจะทำให้เห็นว่าผู้สมัครนั้นมีคุณสมบัติพอที่จะติดต่อสือสารกับทางลูกค้า และเพื่อนร่วมงานได้หรือไม่ เมื่อเขาได้เข้ามาทำงานในบริษัท
ในฐานะผู้หางาน คำตอบของคุณจะทำให้คุณมีโอกาสที่ดีในการเน้นทักษะและประสบการณ์ที่ทำให้คุณเป็นผู้สมัครที่เหมาะสำหรับงาน และเนื่องจากคำถามนี้เป็นคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้เปิดการสัมภาษณ์อยู่บ่อยๆ มันจะช่วยให้คุณสามารถเริ่มต้นการสัมภาษณ์ได้ดีนั่นเอง
ผู้สมัครจำนวนมากทำผิดพลาดในการตอบคำถามนี้ ด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับครอบครัว ลูก หรืองานอดิเรกของพวกเขา บางคนก็เปิดตัวเรื่องราวชีวิตของพวกเขา เริ่มต้นตั้งแต่บ้านเกิด ต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัยของพวกเขา
ผู้สมัครบางคนอธิบายปัญหาในงานปัจจุบันของพวกเขา อธิบายว่าเขาสมัครตำแหน่งนี้เพราะเดินทางลำบากมาก หรือเจ้านายของพวกเขานิสัยไม่ดี หรือนายจ้างของพวกเขาไม่อนุญาติให้เข้าทำงานในตารางเวลาที่ยืดหยุ่นได้
และผู้สมัครบางคนก็แค่สรุปประวัติการทำงานของพวกเขาไปทีละบริษัท และประวิติการศึกษาของพวกเขา
ทั้งสามรูปแบบคำตอบเหล่านี้ อาจทำให้ความฝันที่จะได้งานใหม่ของคุณ หายวับไปกับตา หรือถ้าคุณตอบโดยใช้ 2 แบบแรก ผู้สัมภาษณ์ก็อาจสังเกตเห็นถึงความผิดปกติ เพราะมันบ่งบอกว่า คุณไม่ได้จริงจังกับตำแหน่งงาน หรือแค่พยายามหลบหนีสถานการณ์ที่ไม่ดีในงานปัจจุบันของคุณ
แต่ถ้าคุณใช้คำตอบแบบที่ 3 คุณก็เหมือนโยนโอกาสทิ้งไป เพราะผู้สัมภาษณ์ได้อ่าน resume ของคุณก่อนที่จะเชิญคุณเข้าร่วมการสัมภาษณ์ และเขาก็ไม่ได้ต้องการให้คุณไร่เรียงหรือสรุปให้ฟังอีกรอบ แต่เขาต้องการฟังคุณ เน้นเรื่องในประวัติการทำงานที่ทำให้คุณเหมาะสมสำหรับงานตำแหน่งนี้
คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคำถามนี้ คืออธิบายให้ชัดเจนว่าคุณมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับงานนี้อย่างไร รวมถึงทำไมคุณถึงอยากทำงานนี้ ดังนั้นก่อนที่คุณจะเรียบเรียงคำตอบ คุณควรใช้เวลาตรวจทานรายละเอียดงานในโฆษณาจัดหางาน และหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท วิธีนี้คุณจะมีความเข้าใจว่าทางผู้สัมภาษณ์ต้องการหาคนแบบไหน คุณสมบัติอย่างไร และเหมาะกับวัฒนธรรมองค์กรณ์หรือไม่
จากนั้นเตรียมบทสั้นๆ ที่เน้นทักษะความแข็งแกร่งและความชำนาญที่คุณมี และคุณสมบัติที่ทำให้คุณเหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานนี้ ตามด้วยเหตุผลที่คุณสมัครงาน โดยมุ่งเน้นไปที่แรงจูงใจในการทำงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ความปรารถนาที่จะสร้างประสบการณ์ของคุณ และเพิ่มความรับผิดชอบ สรุปคำอธิบายสั้นๆว่าทำไมการทำงานกับบริษัทแห่งนี้ จึงเป็นที่สนใจของคุณ
ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีของคำตอบ “บอกฉันเกี่ยวกับตัวคุณเอง” สำหรับผู้สมัครงานในตำแหน่ง Senior Administrative Assistant ในบริษัทที่ทำเกี่ยวกับพลังงานสะอาด
“ฉันทำงานเป็นในตำแหน่ง Administrative Assistant มาเป็นเวลา 3 ปี ปัจจุบันฉันทำงานในแผนกการเงินในบริษัทที่มีขนาดกลาง ฉันจัดการเกี่ยวกับการจัดตารางนัดหมาย การประชุม และวางแผนการเดินทางสำหรับผู้บริหาร 4 คนและพนักงานอีกกว่า 20 คน นอกจากนี้ยังช่วยเตรียมความพร้อมในการติดต่อประสานงาน และ เตรียมพรีเซ็นเทชั่น และ เตรียมรายงานต่างๆ”
“ฉันเป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นคนทำงานเป็นทีม มีระเบียบและให้ความสนใจในรายละเอียดสูง ฉันไม่เคยพลาดกำหนดเวลา และ deadline ต่างๆ ฉันสามารถสื่อสารได้ดีและสามารถทำงานหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน หัวหน้าของฉันมักกล่าวว่า เขาชื่นชมกับความเป็นมืออาชีพและความกระตือรือร้นในการทำงานของฉัน”
“ด้วยประสบการณ์ทั้งหมดของฉัน ฉันกำลังมองหาโอกาสที่ก้าวต่อไปในอาชีพของฉัน ฉันหวังที่จะทำเช่นนั้นในองค์กรที่ทำงานเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นส่ิงที่ฉันหลงไหล”
ไม่ว่าคุณจะตอบคำถามนี้อย่างไร อย่าใช้เวลามากเกินไปในการตอบกลับ คุณไม่จำเป็นต้องบอกผู้สัมภาษณ์ในทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ทำให้คุณเหมาะกับตำแหน่งนี้ บอกเพียงแค่รายละเอียดที่สำคัญแก่เขาแค่สองสามข้อ เพื่อที่จะกระตุ้นความสนใจให้ผู้สัมภาษณ์อยากเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเรามากขึ้น และมันจะเป็นการเริ่มต้นการสัมภาษณ์ที่ยอดเยี่ยมนั่นเอง